ประเพณี จังหวัดกรุงเทพมหานครฯ


ประเพณี จังหวัดกรุงเทพมหานครฯ



งานพรรณไม้งาม


1. งานพรรณไม้งาม อร่ามสวนหลวง ร.9
          จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยกิจกรรมในงานมีการจัดนิทรรศการประวัติสวนหลวง ร.9 นิทรรศการศิลปะประดิษฐ์ที่ชนะการประกวด พวงมาลัยมือ ภาชนะที่สานด้วยใบตอง กระทง ร้านสายใจไทย จำหน่ายต้นไม้และอุปกรณ์จัดสวน การแสดงความสามารถของสุนัข การแสดงทางวัฒนธรรมพื้นบ้าน 4 ภาค พยากรณ์โชคชะตา สวนสนุก การแสดงดอกไม้ไฟโบราณ จำหน่ายสินค้าของที่ระลึกมูลนิธิ

2. งานว่าวนานาชาติ


          ว่าวเป็นสิ่งที่คนไทยคุ้นเคยและรู้จักกันมาแต่โบราณ เพราะเป็นการละเล่นและเป็นกีฬาที่เล่นกันอย่างแพร่หลายทั่วประเทศ เริ่มมีขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย (พ.ศ.1781-1981) มีตำนานว่า พระร่วง หรือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์โปรดการเล่นว่าวมาก วันหนึ่งพระองค์ทรงเล่นว่าวในวัง สายป่านขาด ว่าวลอยไปตกที่หลังคาบ้านพระยาเอื้อ พระองค์เสียดายว่าวมาก เมื่อถึงเวลากลางคืนจึงปลอมตัวเป็นคนสามัญปีนออกจากวังไปเก็บว่าวที่ บ้านพระยาเอื้อ เมื่อปีนไปก็ได้พบว่าพระยาเอื้อมีลูกสาวสวย ทำให้พระองค์เกิดความรักกับลูกสาวพระยาเอื้อ ในด้านประวัติศาสตร์ในสมัยสุโขทัยมีพิธีพราหมณ์ที่เรียกว่า “กลาง” ชักว่าวหง่าวหรือว่าวดุ๊ยดุ่ย ขึ้นไปเพื่อเป็นสิริมงคล หรือเพื่อพยากรณ์อากาศและฤดูกาล








3.โล้ชิงช้า วัดสุทัศน์

          เสาชิงช้า หน้าวัดสุทัศน์เทพวราราม และลานหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ลานคนเมือง) ใกล้กับเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้า ในพระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวายของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ถือเป็นพิธีขึ้นปีใหม่ของพราหมณ์ เป็นการรับเสด็จพระอิศวรที่จะเสด็จมาเยี่ยมโลกมนุษย์ เป็นเวลา 10 วัน เป็นพิธีหนึ่งในพระราชพิธีสิบสองเดือน ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาทุกปี ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี




4.แห่ดาว

          งานประเพณีดาวจัดขึ้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น  รวมทั้งเสริมสร้างการท่องเที่ยวภายในจังหวัด   งานประเพณีแห่ดาวเป็นเทศกาลคริสต์มาสของจังหวัดสกลนครถือเป็นประเพณีท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์โดเด่นและมีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยจัดขึ้นทุกปีในช่วงเทศกาลคริสต์มาส  ตามตำนานเล่าว่า  ในช่วงเวลาที่พระเยซู ประสูตินั้นโหรา

จารย์ได้มองเห็นดาวลักษณะพิเศษดวงหนึ่งที่มีความสุกสว่างกว่าดาวทั่วไปที่ปรากฏบนท้องฟ้า  จึงออกเดินทางตามแสงของดวงดาวจนไปพบกับสถานที่ประสูติพระเยซูที่เมืองเบลเลเฮมประเทศปาเลสไตน์   ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชาวคริสต์ถือว่า ดาว คือสัญลักษณ์การลงมาประสูติบนโลกมนุษย์ของพระเยซูเจ้า 



5.พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

          พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ทำเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่พืชพันธุ์ธัญญาหาร และเพื่อเป็นการบำรุงขวัญเกษตรกรไทย โดยพระราชพิธีพืชมงคลเป็นพิธีสงฆ์ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีพราหมณ์ แต่มีจุดประสงค์อย่างเดียวกัน พระราชพิธีนี้กระทำต่อเนื่องกัน พระราชพิธีพืชมงคลจะทำก่อนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 1 วัน ในเดือน 6 หรือเดือนพฤษภาคม ณ ท้องสนามหลวง



             

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น